วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ไวรัสโหลด (Viral load) คืออะไร BY BIM พระราม 3

ไวรัสโหลด (Viral load) คืออะไร 

             

               Viral load หมายถึง ปริมาณไวรัสในเลือด ซึ่งในที่นี้คือปริมาณเชื้อเอชไอวีในเลือดนั่นเอง 

               การมีเชื้อเอชไอวีในเลือดมากอาจมีผลให้จำนวน CD4 ลดลงอย่างรวดเร็ว และมีความเสี่ยงสูงที่อาการของโรคจะรุนแรงขึ้น หรืออาจทำให้เกิดกลุ่มอาการโรคเอดส์ขึ้น 

               ในผู้ป่วยที่รับยาต้านไวรัสมักจะพบว่าจำนวน CD4 เพิ่มขึ้น ร่วมกับการลดลงของปริมาณไวรัส การติดตามปริมาณไวรัสจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้ผลดีมาก น้อยเพียงไร 


การตรวจหาปริมาณไวรัสคืออะไร 


               การตรวจหาปริมาณไวรัส เป็นการประมาณจำนวนเชื้อเอชไอวีที่อยู่ในของเหลว เช่น น้ำเหลือง เลือด ซึ่งทำได้โดยการหาสารพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี ซึ่งเรียกว่า HIV RNA 

               ผลการตรวจหาปริมาณไวรัสจะแสดงเป็น จำนวน copies ของ HIV RNA ต่อมิลลิลิตร (หมายถึงจำนวนชิ้นส่วนพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีความใกล้เคียงกับจำนวนไวรัส) ตัวอย่างเช่น ปริมาณไวรัส 200 จะเขียนเป็น 200 copies/ml อย่างไรก็ตามแพทย์มักจะอธิบายผลปริมาณไวรัสโดยใช้เพียงตัวเลขเท่านั้น 

               การตรวจหาปริมาณไวรัสสามารถทำได้หลายวิธี การตรวจด้วยวิธีต่างๆจะใช้วิธีการที่ต่างกันในการหาจำนวนของเชื้อเอชไอวี อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้จะให้ผลที่เชื่อถือได้ใกล้เคียงกัน โดยแสดงผลเป็นปริมาณไวรัสต่ำ ปานกลาง หรือสูง วิธี PCR (polymerase chain reaction) เป็นหนึ่งในหลายๆวิธีที่นำมาใช้อย่างแพร่หลาย 

               ในปัจจุบันการตรวจแบบความไวสูง (ultra-sensitive) ได้ถูกนำมาใช้ วิธีดังกล่าวสามารถตรวจพบปริมาณไวรัสได้ถึงแม้จะมีอยู่ในปริมาณที่น้อยเพียง แค่ 50 copies/ml หากผู้ป่วยมีปริมาณไวรัสต่ำกว่า 50 copies/ml มักจะเรียกเพียงแค่ undetectable ซึ่งหมายถึงไม่สามารถตรวจพบได้ โดยทั่วไปการมีผลตรวจเป็น undetectable ถือเป็นจุดหมายหลักของการรักษาด้วยยาต้านไวรัส 


ทำความรู้จักกับผลตรวจปริมาณไวรัส 


               ปริมาณไวรัสมากกว่า 100,000 copies/ml ถือว่ามีปริมาณไวรัสสูง ในขณะที่ผลที่ต่ำกว่า 10,000 copies/ml จะถือว่าต่ำ อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยไม่ได้รับยาต้านไวรัส การตรวจหาปริมาณไวรัสจะได้ผลไม่ค่อยคงที่เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละครั้ง ซึ่งโดยมากผลดังกล่าวไม่มีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยแต่อย่างใด

               การวิจัยโดยการตรวจหาปริมาณไวรัสในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาต้านไวรัสพบว่าการตรวจ หาปริมาณไวรัสสองครั้งจากตัวอย่างเลือดอันเดียวกันจะให้ผลที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับยาต้านไวรัสจึงไม่ต้องกังวลหากพบว่าปริมาณไวรัสเพิ่มขึ้นจาก 5,000 ไปเป็น 15,000 copies/ml หรือแม้แต่การเพิ่มขึ้นจาก 50,000 ไปเป็น 100,000 copies/ml ก็ไม่ได้มีความสำคัญแต่อย่างใดหากผู้ป่วยไม่ได้รับยาต้านไวรัส ถึงแม้จะดูราวกับว่าปริมาณไวรัสเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัวก็ตาม ค่าดังกล่าวยังอยู่ในขอบเขตที่การตรวจวัดสามารถผิดพลาดได้ 

               แทนที่จะสนใจเพียงแค่ค่าปริมาณไวรัสจากการตรวจในแต่ละครั้ง ผู้ป่วยควรจะสังเกตแนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณไวรัส ในบางครั้งช่วงเวลาที่เจาะเลือดอาจมีผลต่อการตรวจหาปริมาณไวรัส และหากผู้ป่วยกำลังไม่สบายจากการติดเชื้อใดใดก็จะมีผลทำให้ปริมาณไวรัสสูง ขึ้นก่อนที่จะลดลงอีกครั้ง การฉีดวัคซีนก็อาจมีผลต่อปริมาณไวรัสเช่นกัน 

               ผู้ป่วยควรตั้งข้อสังเกตเอาไว้หากพบว่าปริมาณไวรัสที่ตรวจมีแนวโน้มสูงขึ้น ติดต่อกันหลายเดือน หรือหากพบว่าค่าที่เพิ่มขึ้นนั้นมีการเพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่า ตัวอย่างเช่น การมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 5,000 ไปเป็น 15,000 ไม่ถือว่ามีความผิดปกติแต่อย่างใด แต่หากพบว่ามีการเพิ่มขึ้นจาก 5,000ไปเป็น 25,000 แสดงว่าอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น 


Undetectable viral load (ตรวจไม่พบปริมาณไวรัส) 


               การตรวจหาปริมาณไวรัสจะมีค่าที่ถูกเรียกว่า cut-off point (หมายถึงจุดต่ำสุดที่การวัดนั้นสามารถวัดได้) ค่าที่ต่ำกว่า cut-off point ถือว่าไม่สามารถเชื่อถือค่านั้นได้ ซึ่งอาจเรียกได้อีกอย่างว่า limit of detection (หมายถึงข้อจำกัดของการวัด) วิธีตรวจแบบ PCR จะมี limit of detection อยู่ที่ 50 copies/ml หากปริมาณไวรัสต่ำกว่านี้จะถือว่าเป็น undetectable ซึ่งหมายถึงตรวจไม่พบปริมาณไวรัสนั่นเอง 

               อย่างไรก็ตามแม้ว่าปริมาณไวรัสจะต่ำมากจนไม่สามารถตรวจพบได้ก็ไม่ได้หมายความว่าเชื้อ เอชไอวีหายไปจากกระแสเลือด ยังมีความเป็นไปได้ที่เชื้อเอชไอวีจะยังคงมีอยู่ในเลือดในปริมาณที่ต่ำมากๆ จนไม่สามารถตรวจวัดได้ (เนื่องมาจากข้อจำกัดของวิธีการตรวจวัด) และเนื่องจากการตรวจหาปริมาณไวรัสเป็นเพียงการตรวจหาไวรัสที่อยู่ในเลือดจึง มีความเป็นไปได้ที่ปริมาณไวรัสในตำแหน่งอื่นของร่างกาย เช่นที่ต่อมน้ำเหลืองหรือสารคัดหลั่งอื่นๆอาจมีมาก พอที่จะตรวจพบได้ 


การมีปริมาณไวรัสเป็น undetectable มีผลดีอย่างไร 


               มีเหตุผลสองประการหลักคือ หนึ่ง ค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่ำจากการเจ็บป่วยอันเนื่องมา จากเชื้อเอชไอวี สอง เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดการดื้อยาต้านไวรัส 

               เชื้อเอชไอวีจะเกิดการดื้อยาได้ก็ต่อเมื่อเชื้อยังสามารถเพิ่มจำนวนได้ตามปกติใน ขณะที่ผู้ป่วยทานยาต้านไวรัสอยู่ หากการเพิ่มจำนวนไวรัสถูกกดให้ต่ำลงมากๆ การที่จะเกิดการดื้อยาก็จะถูกชะลอออกไป หรือแม้แต่ไม่เกิดการดื้อยาขึ้นเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการรับยาต้านชนิดดังกล่าวยังคงให้ผลดีอยู่ 

               จากเหตุผลดังกล่าว แพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยจากโรคติดเชื้อเอชไอวีจึงตั้งเป้าหมายของการรักษา ไว้ที่การทำให้ปริมาณไวรัสเป็น undetectable ให้เร็วที่สุด เช่นภายใน 24 สัปดาห์ภายหลังเริ่มให้ยาต้านไวรัสกับผู้ป่วย 

               ผู้ป่วยบางคนอาจใช้เวลาตั้งแต่ 3 ถึง 6 เดือนในการไปถึงจุดดังกล่าว ในขณะที่บางคนอาจใช้เวลาแค่ 4 ถึง 12 สัปดาห์ หรืออาจเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยบางคนไม่สามารถไปถึงจุดดังกล่าวเลย 


Viral load blips (การมีปริมาณไวรัสกระโดดสูงขึ้น) 


               ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีปริมาณไวรัสอยู่ในระดับ undetectable การตรวจในบางครั้งอาจพบว่ามีค่าสูงกว่า 50 copies/ml ไปเป็น 100 หรือ 200 copies/ml ก่อนที่จะหล่นกลับมาอยู่ที่ undetectable อีกครั้ง ปรากฎการณ์ดังกล่าวเรียกว่า Viral load blips ซึ่งไม่ได้บ่งว่าการรักษาด้วยยาต้านไวรัสล้มเหลวแต่อย่างใด โดยมากการเกิด blips มักจะเป็นผลจากความผิดพลาดในการตรวจวัดโดยห้องปฏิบัติการ 


ปริมาณไวรัสในผู้หญิง


               ผู้หญิงมักจะมีปริมาณไวรัสต่ำกว่าผู้ชายที่มีค่า CD4 ใกล้เคียงกัน ซึ่งปรากฏการณืดังกล่าวไม่ได้มีผลต่อการดำเนินโรคแต่อย่างใดและ เหตุผลของปรากฏการณ์ดังกล่าวยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจเป็นไปได้ว่าผู้หญิงมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกว่าหรือการเพิ่มจำนวนของไวรัสในผู้หญิงต่ำกว่าโดยธรร มชาติเอง 


Log viral load คืออะไร 


               ในบางครั้งปริมาณไวรัสอาจแสดงเป้นค่า log เนื่องมาจากค่าดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างได้ถึง 10 เท่า 

               โดยปกติค่าจะแสดงเป็น log ฐาน 10 นั่นคือ 1.0 log มีค่าเท่ากับ 10, 2.0 log มีค่าเท่ากับ 10 ยกกำลัง 2 ซึ่งก็คือ 100, 3.0 log จะเท่ากับ 1000, 4.0 log จะเท่ากับ 10000 และ 5.0 log จะเท่ากับ 100000 

               หากผู้ป่วยมีค่า 3.5 log ก็หมายความว่ามีปริมาณไวรัสมากกว่า 3.0 log ถึง 5 เท่า บางครั้งการใช้ค่า log จึงง่ายต่อการอ่านผลการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการดูเป็นจำนวน copies/ml 


สรุป 


               ไวรัสโหลด คือ จำนวนของไวรัสต่อเลือดโดยประมาณ 1 หยด เช่น ถ้าหมอบอกว่ามีไวรัส 5,000 ก็คือในเลือดเรามีไวรัสอยู่ 5,000 ตัวต่อเลือด 1 หยด ไวรัสต่ำกว่า 30,000 เรียกว่าน้อย 100,000 ขึ้นไปเรียกว่าเยอะ

               การตรวจหาไวรัสที่เขาตรวจกันก็เพื่อดูว่า CD4 เราจะตกลงเร็วแค่ไหน แบบว่าไวรัสเยอะก็ตกเร็วกว่าพวกไวรัสน้อย 


ที่มา : http://pha.narak.com/topic.php?No=15271
เขียน/เรียบเรียงโดย BIM พระราม 3
ขออนุญาตเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ

วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

CD4 คืออะไร BY BIM พระราม 3

CD4 คืออะไร


               CD4 คือ เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ควบคุมและต่อสู้กับเชื้อโรค และมีบทบาทในการสร้างสารภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค

               หากเปรียบร่างกายของเราเหมือนประเทศ ระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่เหมือนศูนย์บัญชาการของทหารหรือกระทรวงกลาโหม ที่คอยคุ้มกันและสร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกายสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามารุกรานได้ และเพื่อดูแลคุ้มกันส่วนต่างๆของร่างกายได้ทั่วถึง ระบบภูมิคุ้มกันจะกระจายตัวเป็นต่อมน้ำเหลือง (lymph nodes) อยู่ตามจุดต่าง ๆ ตามรูป เหมือนค่าย ทหารเพื่อสะสมกำลังพล เมื่อต้องต่อสู้กับเชื้อโรคหรือข้าศึกที่เข้ามาในร่างกาย ค่ายทหารจะกระจายพลทหารหรือเม็ดเลือดขาวออกไปกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สารเคมี เป็นต้น

               เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จะเข้ายึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 เมื่อทหารของร่างกายตายลงไปเรื่อยๆ ร่างกายก็จะขาดกำลังพลในการรบและพ่ายแพ้ต่อเชื้อโรคได้ง่าย

มาเรียนรู้กลไกการติดเชื้อ หรือกระบวนการก่อการร้ายของเอชไอวีกันเถอะ

               “ยึดเกาะ เจาะไข่ และสูบเลือดสูบเนื้อจากเซลล์เจ้าบ้าน” ถือเป็นคอนเซ็ปต์หลักในการทำงานของเอชไอวี เนื้อหาต่อไปนี้จะแสดงกลไกการติดเชื้อทั้ง 5 ขั้นตอน การเข้าใจถึงกลไกนี้จะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของยาต้านไวรัสแต่ละประเภทด้วย

               1. เชื้อเอชไอวีเริ่มยึดเกาะเข้ากับผนัง CD4 โดยใช้หนามที่มีอยู่รอบ ๆ เซลล์แทงยึดที่เต้ารับของ CD4  จากนั้นจะเริ่มแทรกซึมเข้าไปในเซลล์ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของวงจรการติดเชื้อ

               2. หลังจากที่ยึดเแน่นแล้ว เยื่อหุ้มเอชไอวีจะผสานเป็นหนึ่งเดียวกับเยื่อหุ้ม CD4 เมื่อเจาะเกราะหุ้ม CD4 ได้ เอชไอวีจะพุ่งเข้าไปในเซลล์ CD4 ทันที

               3. เมื่อเข้าเซลล์ได้ รหัสพันธุกรรมของเอชไอวี (RNA) จะพุ่งสู่ใจกลางเซลล์ CD4 และก๊อบปี้ตัวเองขึ้นมา โดยขโมยโปรตีนของเซลล์ CD4 มาใช้ในการสร้างเนื้อตัวของลูกหลานตัวใหม่ เซลล์เอชไอวีรุ่นใหม่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่าของเก่า

               4. เมื่อได้ทุกสิ่งอย่างครบตามองค์ประกอบเดิมเอชไอวี ตัวใหม่ก็จะผุดออกมาจากเซลล์ CD4 โดยดึงเนื้อหนังมังสามาจากผนังของ CD4 มาสร้างเปลือก

               5. กองทัพเอชไอวีถูกปล่อยออกมาจาก CD4 พร้อม ๆ กันหลายตัว การแบ่งตัวแบบทวีคูณนี้ทำให้เอชไอวีสามารถรวมกันเป็นขบวนการทำร้าย CD4 เซลล์อื่น ๆ ที่ยังแข็งแรงได้อย่างรวดเร็ว

               หลังจากเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายประมาณ 3-12 สัปดาห์ ร่างกายจะสังเคราะห์แอนติบอดี้ซึ่งเปรียบเหมือนตำรวจตรวจจับสิ่งแปลกปลอมออกมาเพื่อจะจับกุมเชื้อเอชไอวี แต่ก็สายไปแล้ว แอนติบอดี้ที่ร่างกายผลิตขึ้นมานี้ คือสารที่ตรวจเจอเวลาเราไปตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี

หลังจากโดนสูบเนื้อไปแล้ว CD4 จะเป็นอย่างไร


               CD4 ที่ถูกเอชไอวีใช้ในการแบ่งตัวจะไม่สามารถทำงานเป็นทหารได้อีกต่อไป CD4 เหล่านั้นจะหมดสภาพและถูกทำลายไป ทั้งทางตรงและทางอ้อม

               ทางตรง: CD4 ที่ติดเชื้อจะเอชไอวีถูกขโมยเนื้อเยื่อและสารประกอบไปผลิตเอชไอวีตัวใหม่ และเมื่อลูกหลานของเอชไอวีจำนวนมากผุดออกมาจากเซลล์ CD4 ตัวนั้นจะตายลง เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในถูกทำลายอย่างหนัก หรือถ้ายังไม่ตายในทันทีก็จะหมดอายุและตายในเวลาต่อมา

               ทางอ้อม: CD4 ที่ติดเชื้ออาจตั้งโปรแกรม ทำลายตัวเอง (Apoptosis) เมื่อระบบและกลไกการทำงานของเซลถูกรบกวนจากการผลิตลูกของเอชไอวี ผู้มีเชื้อส่วนใหญ่ จะมีเซลล์ Apoptosis ในกระแสเลือดและต่อมน้ำเหลืองจำนวนมากกว่าคนที่ไม่มีเชื้อ

CD4 กับโรคฉวยโอกาส By BIM พระราม 3

CD4 กับโรคฉวยโอกาส


                โรคติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic Infection) หมายถึง โรคติดเชื้อที่มักไม่เกิดขึ้นในคนปกติทั่วไป แต่จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำลง ซึ่งผู้มีเชื้อจะมีระดับภูมิคุ้มกัน (CD4) ลดต่ำลงหรือเกิดภาวะที่เรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” จึงเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาส
               
                ความสำคัญของโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ผู้มีเชื้ออาจป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้พร้อมกันมากกว่าหนึ่งโรค และอาจเป็นโรคเดิมซ้ำได้อีกหากภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง ซึ่งการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสนี้อาจมีความรุนแรงจนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา นอกจากนี้การเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอาจทำให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสต้องเลื่อนเวลาออกไป เนื่องจากแพทย์อาจต้องรักษาโรคเหล่านั้นจนผู้ป่วยมีอาการทุเลา จึงจะเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้

ความความเสี่ยงในการติดเชื้อฉวยโอกาสชนิดต่างๆ 


                ผู้มีเชื้อแต่ละราย อาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างชนิดกัน ขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกัน CD4 ที่มีอยู่ในร่างกาย เนื่องจาก CD4 เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ในร่างกาย ด้วยการไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้หรือภูมิคุ้มกันมาต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมพวกนั้น โดยคนปกติจะมี CD4 ประมาณ 500 - 1,600 เซลล์/ลบ.มม.

การลดลงของ CD4 จะส่งผลให้ผู้มีเชื้อมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ ดังนี้

1. หาก CD4 ต่ำกว่า 350 เซลล์/ลบ.มม. จะเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราในช่องปาก วัณโรค และงูสวัด

2. หาก CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อราที่ปอดกลายเป็นโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า PCP (เป็นระยะที่เรียกว่าผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น) นอกจากนี้อาจพบโรคติดเชื้ออื่นๆ ในข้างต้นร่วมได้ เช่น เชื้อราในช่องปาก หรือวัณโรค

3. หาก CD4 ต่ำกว่า 100 เซลล์/ลบ.มม. จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือฝีในสมองจากเชื้อพยาธิท๊อกซพลาสโมซิส หรือเชื้อราคริปโตคอกคัล นอกจากนี้ยังอาจพบโรคติดเชื้อเพนนิซิเลียมที่ผิวหนัง และฮิสโตพลาสมาที่ปอด

4. หาก CD4 ต่ำกว่า 50 เซลล์/ลบ.มม. จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสไซโตเมกะโลไวรัส หรือ CMV ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้ นอกจากนี้ยังอาจพบการติดเชื้อรุนแรงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคติดเชื้อไมโครแบคทีเรียม เอเวียม คอมเพลกซ์ (แมค_MAC) และเชื้อราในสมองคริปโตคอกคัล


วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

งานวิจัย APCO

*ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล*

                


งานวิจัย APCO 1 แคปซูล(600มิลลิกรัม)  สูตร ดร.พิเชรษฐ์


เลขที่ อย.51-1-20856-1-0004
ขนาดรับประทาน : 2-3 เม็ด (ก่อนอาหาร 0.5-1ชั่วโมง)     วันละ 2 หรือ 3 ครั้ง
ขนาดบรรจุ กระปุกละ 60 แคปซูล 36 กรัม

ประกอบด้วย : สารสกัดจากพืชผลไม้ธรรมชาติที่โดยทำการสกัดเอามาแต่สารที่เป็นคุณประโยชน์ และตัดทิ้งสารที่ก่อพิษในร่างกายออก มีถั่วเหลือง งาดำ ฝรั่ง ใบบัวบก และมังคุด

GM-1-Polysaccharide Synergistic Complex ..(225 mg) ของCentella asiatica juice powderและ Mangosteen (aril) extract powder
SG-Protein Synergistic Complex (279 mg) ของBlack sesame extract,Guava fruit juice powderและ Isolated soy protein




*ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล*



ผู้ติดเชื้อ "เอชไอวี" รายใหม่ลดลงต่อเนื่อง

ผู้ติดเชื้อ "เอชไอวี" รายใหม่ลดลงต่อเนื่อง                สถิติของกรมควบคุมโรคพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่มีแนวโน้มลดลง โดยปีน...