วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

CD4 กับโรคฉวยโอกาส By BIM พระราม 3

CD4 กับโรคฉวยโอกาส


                โรคติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic Infection) หมายถึง โรคติดเชื้อที่มักไม่เกิดขึ้นในคนปกติทั่วไป แต่จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำลง ซึ่งผู้มีเชื้อจะมีระดับภูมิคุ้มกัน (CD4) ลดต่ำลงหรือเกิดภาวะที่เรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” จึงเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาส
               
                ความสำคัญของโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ผู้มีเชื้ออาจป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้พร้อมกันมากกว่าหนึ่งโรค และอาจเป็นโรคเดิมซ้ำได้อีกหากภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง ซึ่งการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสนี้อาจมีความรุนแรงจนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา นอกจากนี้การเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอาจทำให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสต้องเลื่อนเวลาออกไป เนื่องจากแพทย์อาจต้องรักษาโรคเหล่านั้นจนผู้ป่วยมีอาการทุเลา จึงจะเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้

ความความเสี่ยงในการติดเชื้อฉวยโอกาสชนิดต่างๆ 


                ผู้มีเชื้อแต่ละราย อาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างชนิดกัน ขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกัน CD4 ที่มีอยู่ในร่างกาย เนื่องจาก CD4 เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ในร่างกาย ด้วยการไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้หรือภูมิคุ้มกันมาต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมพวกนั้น โดยคนปกติจะมี CD4 ประมาณ 500 - 1,600 เซลล์/ลบ.มม.

การลดลงของ CD4 จะส่งผลให้ผู้มีเชื้อมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ ดังนี้

1. หาก CD4 ต่ำกว่า 350 เซลล์/ลบ.มม. จะเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราในช่องปาก วัณโรค และงูสวัด

2. หาก CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อราที่ปอดกลายเป็นโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า PCP (เป็นระยะที่เรียกว่าผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น) นอกจากนี้อาจพบโรคติดเชื้ออื่นๆ ในข้างต้นร่วมได้ เช่น เชื้อราในช่องปาก หรือวัณโรค

3. หาก CD4 ต่ำกว่า 100 เซลล์/ลบ.มม. จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือฝีในสมองจากเชื้อพยาธิท๊อกซพลาสโมซิส หรือเชื้อราคริปโตคอกคัล นอกจากนี้ยังอาจพบโรคติดเชื้อเพนนิซิเลียมที่ผิวหนัง และฮิสโตพลาสมาที่ปอด

4. หาก CD4 ต่ำกว่า 50 เซลล์/ลบ.มม. จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสไซโตเมกะโลไวรัส หรือ CMV ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้ นอกจากนี้ยังอาจพบการติดเชื้อรุนแรงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคติดเชื้อไมโครแบคทีเรียม เอเวียม คอมเพลกซ์ (แมค_MAC) และเชื้อราในสมองคริปโตคอกคัล


1 ความคิดเห็น:

  1. ฉันชื่อ TRISHA NELSON ฉันติดเชื้อเอชไอวีใน 2O16 ฉันได้รับแจ้งจากแพทย์ว่าไม่มีทางรักษาเอชไอวีได้ ฉันเริ่มใช้ ARVs CD4 ของฉันคือ 77 และปริมาณไวรัสคือ 112,450 ฉันเห็นเว็บไซต์ของดร. เจมส์และฉันเห็นข้อความรับรองมากมายเกี่ยวกับวิธีที่เขาใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาเอชไอวี ฉันติดต่อเขาและบอกปัญหาของฉันเขาส่งยาสมุนไพรมาให้ฉันและฉันก็ใช้เวลา 3 สัปดาห์หลังจากนั้นฉันไปตรวจสุขภาพและฉันก็หายจากเอชไอวี ยาสมุนไพรของเขาไม่มีผลข้างเคียงและง่ายต่อการดื่มไม่มีอาหารพิเศษใด ๆ เมื่อทานยาสมุนไพรของดร. เจมส์ เขายังรักษาโรคเบาหวาน, โรคมะเร็ง HPV, ALS, โรคตับ, โรค KIDNEY, HERPES และอื่น ๆ อีกมากมาย คุณสามารถติดต่อเขาได้ที่ ... drjamesherbalmix@gmail.com

    ตอบลบ

ผู้ติดเชื้อ "เอชไอวี" รายใหม่ลดลงต่อเนื่อง

ผู้ติดเชื้อ "เอชไอวี" รายใหม่ลดลงต่อเนื่อง                สถิติของกรมควบคุมโรคพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่มีแนวโน้มลดลง โดยปีน...