วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

คนกรุงฯ เป็นเอดส์เฉียด 8 หมื่นราย เฉลี่ย เพิ่มขึ้นวันละ 6 คน

คนกรุงฯ เป็นเอดส์เฉียด 8 หมื่นราย 

เพิ่มขึ้นวันละ 6 คน


        สำรวจพบเกือบ 8 หมื่นคนในกรุงเทพเป็นเอดส์ ผู้ป่วยใหม่วันละ 6 คน เจอในกลุ่ม "ชายรักชาย" มากสุด กทม.เร่งรณรงค์ปี 63 ตั้งเป้าลดเหลือวันละ 2 คน

        เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธุ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ครั้งที่ 1/2560 จากนั้นเปิดเผยว่า โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นสิ่งที่กทม.ได้ให้ความสำคัญติดตาม เฝ้าระวังและพยายามดำเนินการ เพื่อลดอัตราการเกิดโรคต่อประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สภาพแวดล้อมของเมือง สื่อต่างๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดการยั่วยุทางเพศมากยิ่งขึ้น
 
        โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีอัตราความเสี่ยงของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มมากขึ้นซึ่งปัญหาดังกล่าว ล้วนเป็นต้นเหตุของปัญหาสังคมที่เกิดตามมาในหลายๆด้าน ดังนั้น กทม.จึงต้องพยายามสร้างความตระหนักถึงปัญหาและวางแนวทางแก้ไข ให้ความสำคัญต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในพื้นที่กรุงเทพฯให้ได้มากที่สุด 

        ทั้งนี้ สถานการณ์ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปี 2560 มีการสำรวจ
ผู้ติดเชื้อจำนวน 77,970 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,205 รายต่อปี ซึ่งผู้ติดเชื้อรายใหม่นั้น จะเฉลี่ยเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 6 ราย โดยในกลุ่มผู้ติดเชื้อรายใหม่จะอยู่ในกลุ่มของเด็กและเยาวชนอายุ 14-24 ปี มากที่สุด และเป็นกลุ่มชายรักชายมากถึง 68 เปอร์เซ็นต์

        นายทวีศักดิ์ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่มีจำนวนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นกทม.จึงต้องเร่งการลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ให้เกิดผลสำเร็จโดยตามเป้าหมายการทำงานนั้นในปี 2563 ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกรุงเทพฯจะต้องลดจำนวนลง จาก 2,000 รายต่อปี เหลือประมาณ 900 รายต่อปี หรือ 2.4 รายต่อวันและในปี 2573 ผู้ติดเชื้อรายใหม่จะต้องลดลง เหลือแค่ไม่เกิน 500 รายต่อปี ส่วนกลุ่มผู้ติดเชื้อรายเก่า ก็จะต้องส่งเสริมให้เข้าถึงยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว 

        เนื่องจากเชื้อเอชไอวีหากไม่ได้รับยาต้านไวรัสภายใน 3-10 ปีจากการรับเชื้อ ก็จะส่งผลต่อร่างกายสู่การเป็นโรคเอดส์ในที่สุด แต่หากได้รับยาต้านไวรัสอย่างเหมาะสมทันเวลา ผู้ติดเชื้อก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ

         อย่างไรก็ตามการบริการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี บริการยาต้านไวรัส หากเป็นประชาชนทั่วไป สามารถเข้ารับบริการดังกล่าวได้ฟรีได้ที่ศูนย์สาธารณะสุขของกทม.ทั้ง 68 แห่ง และโรงพยาบาลในสังกัดกทม.หรือโรงพยาบาลของรัฐอื่นๆ แต่หากเป็นกลุ่มผู้ไร้สิทธิ ไม่มีบัตรประชาชน สัญชาติหรือกลุ่มแรงงานต่างด้าวนั้น การรับยาต้านไวรัสยังไม่มีบริการอย่างเต็มที่ แต่กลุ่มบุคคลดังกล่าวก็ต้องได้รับการป้องกันดูแลอย่างเหมาะสม ซึ่งกทม.ได้เปิดให้บริการประชาชนกลุ่มผู้ไร้สิทธิแรงงานต่างด้าว ในการเข้ารับยาต้านไวรัสฟรี ได้ที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 26 เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ เขตธนบุรี และศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี เขตคลองสาน ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องเพื่อบริการดูแลประชาชนกลุ่มไร้สิทธิอย่างเหมาะสมมากที่สุด


วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560

20 ข้อแนะนำ ติดเอดส์แล้วทำไงดี


20 ข้อแนะนำ ติดเอดส์แล้วทำไงดี




เรามีวิธี ข้อปฎิบัติ ที่ดีๆ สำหรับผู้ติดเชื้อ ที่จะมานำเสนอ ให้ทุกคนนำไปปฎิบัติกัน




ไปหาหมอบ่อยๆ


เมื่อเรารู้ว่าเราได้รับเชื้อแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ หมั่นไปพบคุณหมอบ่อยๆ เพื่อเช็คอาการ เช็คค่า CD4 ว่าอยู่ในระดับไหน เสี่ยงเกินไปหรือป่าว หรือว่าปกติดี เพื่อการเตรียมตัว ในการดูแลตนเองต่อไป



อย่าหลบซ่อนตัวเอง


ผู้ติดเชื้อทุกคน สิ่งที่ไม่ควรทำเลยคือการหลีกหนีจากสังคม หรือหลบซ่อนตัวเอง เพราะมันจะไม่ดีกับจิตใจของตัวเอง และคนที่เขารักเราก็จะเป็นห่วงเราเอามากเลยนะ



พบปะพูดคุยกับผู้อื่นได้ตามปกติ


เราสามารถเข้าสังคมได้ตามปกติ ไม่ต้องกังวลว่าเราอาจจะไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่นโดยที่ไม่ตั้งใจ เพราะเชื้อ HIV ไม่ได้ติดกันง่ายขนาดนั้น การติดหวัดยังติดกันง่ายกว่าอีก แต่ว่าผู้ติดเชื้อก็ควรระมัดระวังตัวเองให้ดีด้วยนะ



หาข้อมูลเกี่ยวกับโรค


เพื่อให้เรามีความรู้กับสิ่งที่เราเป็นอยู่ และอยู่เป็น เพราะเชื้อ HIV เมื่อได้รับมาแล้ว ก็จะอยู่กับเราตลอดไป ดังนั้นเราจึงควรอยู่กับมันและควบคุมมัน อย่าให้มันทำร้ายเราได้



พบปะผู้ติดเชื้อรุ่นพี่


ผู้ติดเชื้อรุ่นน้องทุกคน ถ้าเป็นไปได้ควรไปศึกษาหากลุ่มที่รวมผู้ติดเชื้อไว้ด้วยกัน เพราะกลุ่มแบบนี้ จะเป็นกลุ่มคนที่คอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน จะทำให้รุ่นน้องแบบคุณมีความรู้ และกำลังใจมากมาย ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว



ระวังน้ำคัดหลั่งต่างๆ


เลือด น้ำเหลือง เหงื่อ หนอง น้ำตา น้ำมูก น้ำหรือของเหลวที่ออกมาจากร่างกายทุกอย่าง ผู้ติดเชื้อควรจะระวังมากๆ เมื่อไปสัมผัส ควรทำความสำอาดทันที



ระวังสิ่งขับถ่ายต่างๆ


ระวังสิ่งขับถ่ายต่างๆ ของร่างกาย เมื่อทำธุระเสร็จแล้ว ควรล้างทำความสะอาดให้ดี เพื่อสุขอนามัยของตัวผู้ติดเชื้อเอง และผู้อื่น



เมื่อสัมผัสน้ำต่างๆ ที่ออกมาจากร่างกาย 

ควรรีบทำความสะอาดทันที


ถึงจะมีปริมาณเชื้อไวรัสไม่เท่ากัน อาจจะมีมากมีน้อย ในกรณีต่างๆ ก็ไม่ควรละเลย หรือเพิกเฉย เมื่อไปสัมผัสโดน ควรรีบทำความสะอาดทันที



ใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ


อุจจาระและน้ำปัสสาวะมีปริมาณไวรัสที่น้อยมากจนไม่สามารถติดต่อกันได้ ดีไม่ดีโดนน้ำยาฆ่าเชื้อก็หงิกไปเลย ส่วนน้ำอสุจิหรือน้ำจากช่องคลอดก็ไม่สามารถอยู่ในห้องน้ำได้นาน แม้จะสัมผัสถูกผิวหนังบางส่วนนอกร่างกายก็ไม่สามารถผ่านสู่ร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการใช้น้ำยาล้างห้องน้ำทำความสะอาดเป็นครั้งคราวก็ช่วยได้เยอะ เพราะน้ำยาเหล่านี้เป็นตัวฆ่าเชื้อเอชไอวีโดยตรงทีเดีย


 ถ้วย ชาม จาน แก้ว ล้างให้สะอาด ทิ้งให้แห้ง


ถึงแม้ว่า การทานอาหารร่วมกัน จะไม่อันตรายมาก เพราะในน้ำลายมีปริมาณเชื้อไวรัสที่น้อยมาก แต่ก็ควรที่จะล้างจาน ชาม ให้สะอาด และ ทิ้งให้แห้งเสมอ


ไม่ใช้มีด กรรไกรตัดเล็บร่วมกับใคร


อุทาหรณ์สำหรับสาว ๆ ที่ชอบทำเล็บ เช็กให้ชัวร์ หากอุปกรณ์ไม่สะอาดอาจมีสิทธิ์ติดเชื้อ HIV ได้ ดังเช่นสาวบราซิลคนนี้ที่ติดเชื้อจากการใช้อุปกรณ์ทำเล็บของญาติ


ใช้ถุงยางทุกครั้งที่ทำเรื่องบนเตียง


ตามที่รู้ๆกัน ควรจะใช้ถุงยางทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์


งดการบริจากเลือด


เพราะในเลือด จะมีปริมาณเชื้อไวรัสที่เยอะมาก การบริจาคเลือด จะทำให้เราแพ่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายและเร็วมาก แต่เดี๋ยวนี้ก็มีการตรวจเลือดผู้มาบริจาคกันทุกคนแล้ว


งดการบริจาคอวัยวะ


การปลูกถ่ายอวัยวะ เปลี่ยนไต, ปลูกถ่ายไขกระดูก, ผสมเทียม ที่ใช้อสุจิผู้อื่นที่ไม่ใช่สามี โดยไม่ตรวจเลือดเจ้าของอสุจิก่อน สิ่งเหล่านี้เป็นอันตรายทั้งสิ้นสำหรับผู้ติดเชื้อ


หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์


เพราะมีโอกาสที่ลูกจะได้รับเชื้อจากแม่จากหลายกรณี




พยายามไม่เข้าไกล้ผู้ป่วยโรคอื่นๆ


เพราะผู้ติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันที่น้อย เสี่ยงต่าการได้รับเชื้อต่างๆง่าย


ไม่ควรเลี้ยงสัตว์


เพราะอาจจะมีการระคายเคืองหรือแพ้ และสัตว์บางชนิดก็ไม่ได้สะอาดมาก


ไม่ควรอยู่ในที่ๆสกปรก


เพราะผู้ติดเชื้อ HIV เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ ง่ายมากๆ


ไม่ควรทำความสะอาดสิ่งสกปรกมากๆ


เหตุผลเดียวกับข้อ 18


ไม่ควรยอมแพ้ต่อทุกสิ่ง


สำคัญที่สุด คือ การไม่ยอมแพ้ เพราะจะทำให้ผู้ติดเชื้อ มีเหตุผล และกำลังในการดำเนินชีวิตต่อไป






ผู้ติดเชื้อ "เอชไอวี" รายใหม่ลดลงต่อเนื่อง

ผู้ติดเชื้อ "เอชไอวี" รายใหม่ลดลงต่อเนื่อง                สถิติของกรมควบคุมโรคพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่มีแนวโน้มลดลง โดยปีน...